แก้วเซรามิคกับสารตะกั่ว

สารตะกั่วกับภาชนะเซรามิค เช่น แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค

สารตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่ เป็นอันตรายกับร่างกายหากได้รับเข้าไปในปริมาณมาก พิษที่เกิดจากการรับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายคือ ระบบประสาท สมอง และระบบต่างๆ มีชื่อเรียกว่า ภาวะตะกั่วเป็นพิษ

ปัจจุบันเรามักจะพบกับสารปนเปื้อนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มอยู่เป็นจำนวนมาก และในจำนวนสารปนเปื้อนทั้งหมดก็มีสารตะกั่วรวมอยู่ด้วย หากร่างกายของเรารับสารตะกั่วเข้าไปสะสมเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้เป็นพิษกับร่างกายในระดับที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังการเลือกบริโภคอาหารและการเลือกใช้เครื่องใช้ในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็น แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค ชุดกาแฟเซรามิค หรือเครื่องใช้ที่เป็นเซรามิคประเภทอื่น ๆ เมื่อมีการตรวจพบปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูงกว่า 80 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร เอาเข้าจริงในชีวิตประจำวันเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่สัมผัสกับสารตะกั่ว หรือจะพูดให้ชัดก็คือ รอบๆ ตัวเรามีสิ่งของที่มีสารตะกั่วรวมอยู่ด้วย บางอย่างก็อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายกับเรา บางอย่างก็มีปริมาณสูงจนอันตราย

ในชีวิตประจำวันของเราจึงมีโอกาสได้รับสารตะกั่วได้ทั้งจากนอกบ้าน เช่น การสูดเอาไอตะกั่วจากท่อไอเสียเข้าไป หรือแม้แต่สั่งกุ้ง (ฝังตะกั่ว555) ที่ร้านอาหารมารับประทาน หรืออยู่ในบ้าน ก็ไม่พ้นต้องเจอกับสารตะกั่วจากหลายสิ่งอย่างในบ้าน อย่างสีทาบ้าน หรือแม้แต่ภาชนะสำหรับใส่เครื่องดื่ม หรืออาหาร อย่างแก้วเซรามิค แก้วกาแฟเซรามิค จานชามเซรามิค ก็มีตะกั่วปนเปื้อนอยู่

image

อันตรายจาก สารตะกั่ว

สารตะกั่วที่เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปสะสมรวมตัวกันอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ในเลือด กระดูก หรือเส้นผม เป็นเวลานานๆ จนถึงระดับที่เป็นพิษ และไม่เลือกว่าคุณจะอายุเท่าไร เพศชายหรือเพศหญิง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะเป็นอันตรายรุนแรงกับเด็ก หญิงตั้งครรภ์และทารกที่อยู่ในครรภ์ ดังนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานปริมาณโลหะหนัก (ตะกั่วและแคดเมียม) ต่างกันไปเพื่อควบคุมการใช้สารตะกั่วในภาชนะจำพวกเซรามิค

ทำไมต้องใส่ตะกั่วลงในภาชนะเซรามิค เช่น แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค

จริงๆ แล้ว การใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์เซรามิคมีมาตั้งนานแล้ว แต่เพิ่งจะมีการตื่นตัวถึงพิษภัยของตะกั่วในภายหลัง ส่วนเหตุผลที่ต้องใช้ตะกั่วในเซรามิคก็เพื่อความสวยงาม เซรามิคที่เคลือบด้วยตะกั่วจะมีเนื้อดูเรียบ มันวาว สีสด ลวดลายปรากฏชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นใครที่แอบภูมิใจกับ แก้วเซรามิค ใบสวยๆ หรือชุด จานชามเซรามิค บนโต๊ะอาหาร ก็อยากให้แอบระวังไว้หน่อยว่า แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค ของคุณมีตะกั่วในปริมาณที่สูงเกินมาตรฐานกำหนดหรือเปล่า

ข้อสังเกตภาชนะที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนตะกั่วสูง

แล้วเราจะดูอย่างไรว่า แก้วเซรามิค หรือ จานชามเซรามิค ใบไหน มีตะกั่วปนอยู่ถึงขั้นอันตรายกับร่างกายเราแล้ว ข้อสังเกตง่ายๆ คือ ภาชนะที่มีการตกแต่งสีสันลวดลายด้านนอกและด้านในมากๆ โดยเฉพาะลวดลายหรือสีสันที่อยู่ด้านในที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง รวมถึงการตกแต่งตรงขอบทั้งด้านในและด้านนอก ที่ริมฝีปากของเราสัมผัสกับตะกั่วโดยตรง หรือภาชนะที่มีการตกแต่งสีสันลวดลายบนผิวเคลือบแทนที่จะอยู่ใต้ผิวเคลือบ พวกจานชามที่ลูบไปแล้วสัมผัสถึงความนูนของลวดลายนั่นแหละ หรือภาชนะที่ผิวเคลือบหลุดลอก หรือที่มีฝุ่นชอล์คสีขาวตกค้างอยู่ เซรามิคพวกนี้ให้บอกตัวเองไว้ก่อนเลยว่า เสี่ยงที่จะมีตะกั่วสูง แต่ถ้าเป็นพวก แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค สีขาวหรือไม่มีลวดลายจะพบสารตะกั่วได้น้อยกว่า

ทำอย่างไรเราถึงจะลดความเสี่ยงที่ต้องสัมผัสกับตะกั่วได้บ้าง
วิธีป้องกันสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายแบบง่ายๆ เริ่มได้จาก 5 ไม่ คือ

  • ไม่ แรก คือไม่อุ่นอาหารในไมโครเวฟด้วยจานชามเซรามิคที่ไม่แน่ใจว่ามีการระบุถึงปริมาณการใช้ตะกั่วในการผลิตเพราะความร้อนจากไมโครเวฟจะทำให้สารตะกั่วปนเปื้อนออกมาสู่อาหารได้
  • ไม่ ที่สอง ไม่ใช้จานชามเซรามิค หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิคที่ไม่ทราบแหล่งผลิต
  • ไม่ที่สาม คือไม่ใช้ แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ บิ่น แตก ร้าว หรือ ผิวเคลือบลอกเพราะเมื่อนำไปใส่อาหาร สารตะกั่วจะสัมผัสกับอาหารโดยตรง
  • ไม่ที่สี่ ไม่ใส่เครื่องดื่มและอาหารใน แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค หรือเครื่องใช้เซรามิคค้างไว้เป็นเวลานานๆ เพราะสารตะกั่วที่อยู่ในจานชามเหล่านั้นอาจจะปนเปื้อนไปกับอาหารได้
  • ไม่ที่ห้า ไม่สุดท้าย ไม่ควรใส่อาหารหรือของเหลวที่มีความเป็นกรดสูงลงในจานชามเซรามิคที่เสี่ยงจะมีสารตะกั่วสูง เช่น น้ำผลไม้ที่ให้รสเปรี้ยว ส้ม แอปเปิ้ล มะเขือเทศ หรือพวกเครื่องปรุงน้ำพริกน้ำปลา ซิอิ๋ว หรือพวกน้ำราดสลัดต่างๆ โซดาหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ ส่วนอาหารที่ไม่มีกรด เช่น ข้าว มันฝรั่ง น้ำ นมหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีกรด

วิธีที่ดีที่สุดทีจะทำให้เราปลอดภัยจากสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์เซรามิค แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค หรือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารก็ควรจะเลือกใช้ภาชนะที่ระบุถึงปริมาณสารตะกั่วที่ใช้หรือ มีการระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสารตะกั่ว หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัย

สารตะกั่ว

Ceramicstc เองก็ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ โดยทางโรงงานจะมีการตรวจสอบและคัดสรรวัตถุดิบในการผลิตที่ปลอดจากการปนเปื้อนของสารตะกั่ว และยังควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่สารตะกั่วอาจปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์นอกจากวัตถุดิบในการผลิต แก้วเซรามิค อยู่เป็นประจำ ซึ่งทางผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่า แก้วเซรามิค จานชามเซรามิค ที่เลือกซื้อจากบริษัทของเรามีความปลอดภัยสูงอย่างแน่นอนค่ะ หากใครสนใจงานเซรามิคไม่ว่าจะเป็น แก้วเซรามิค แก้วกาแฟเซรามิค ชุดกาแฟเซรามิค แก้วเซรามิคพร้อมฝา จานชามเซรามิค หรือแม้กระทั่ง ของชำร่วย ของที่ระลึก ที่ผลิตจากงานเซรามิค จากทางบริษัทของเรา สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/ceramicstcmug หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 084-4810782, 084-6878354 ในวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 08:00-17:00 น. นะคะ

 

Reference: aknanek.com

 

4 thoughts on “แก้วเซรามิคกับสารตะกั่ว

  1. Nopporn Udom says:

    ขอบคุณสำหรับความรู้ คนส่วนมากแทบไม่รู้เลยว่าอาจมีสารตะกั่วปนเปื้อนในภาชนะเซรามิคได้ ถ้าไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ แสดงให้เห็นว่า Ceramicstc รับผิดชอบต่อสังคม

Leave a Reply